เมนู

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ผู้ใดเอื้อเฟื้อเกื้อกูล
ในเมตตาภาวนา มาจำเริญเมตตาภาวนาจนคุ้นติดวิญญาณประจำใจอยู่แล้ว ผู้นั้นจะได้อานิสงส์
เป็นอันมากนักหนา เพราะฉะนั้น เมตตาภาวนานี้จึงควรที่บุคคลจะจำเริญยิ่งนัก ขอถวายพระพร
เมตตานิสังสปัญหา คำรบ 4 จบเพียงนี้

กุสลากุสลการิสส สมาสมปัญหา ที่ 5


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ในสกลชมพูพิภพ ทรงพระปรารภถามปัญหาอื่น
สืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา วิปาโก อันว่าผลแห่งคนสองจำพวก คือ
จำพวกหนึ่งกระทำกุศล จำพวกหนึ่งกระทำอกุศล คนทั้งสองคนนี้จะได้ผลเท่ากันหรือ หรือจะ
ได้น้อยได้มากกว่ากันและต่างกันอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กุศล
กับอกุศลนี้มีผลต่างกัน ฝ่ายบุคคลที่กระทำการกุศลนั้น ครั้นกระทำกาลกิริยาแล้วบ่ายหน้าไป
สู่สวรรค์ บุคคลกระทำการอกุศลนั้นก็ได้เสวยผลเป็นอันเที่ยงที่จะไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตนี้ เอกนฺตกณฺโห เศร้าหมองโดยส่วนเดียวนี้ เอกนฺต-
สุกฺโก
ส่วนพระโพธิสัตว์เจ้านั้นบริสุทธิผ่องใสยิ่งนัก พระเทวทัตนั้นใจเป็นอกุศล พระบรมโพธิ-
สัตว์เจ้ามีน้ำพระทัยเป็นกุศล ก็ไฉนเล่า บางชาติพระเทวทัตกับพระโพธิสัตว์เจ้ามียศศักดิ์ เสมอกัน
บางชาติไม่เสมอกัน ที่พระโพธิสัตว์มียศศักดิ์และขาติกำเนินต่ำกว่าก็มี เช่นเมื่อครั้งพระเทตทัต
เกิดในตระกูลพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี พระบรมโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้เกิดในตระกูล
คนจัณฑาลรู้วิชาการกระทำมะม่วงให้มีผลใช่ฤดู พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลต่ำกว่าเทวทัตนี้ชาติหนึ่ง
ปุน จ ปรํ ครั้นมาอีกเล่า พระเทวทัตเกิดเป็นกษัตริย์มีนามชื่อว่า พระเจ้าพาราณสี พระโพธิ-
สัตว์เจ้านี้เป็นช้างต้นมงคลหัตถีอันเผือกผู้ของพระเจ้าพาราณสี พระเทวทัตมีชาติสูงกว่าพระ
บรมโพธิสัตว์นี้ก็ชาติหนึ่ง ปุน จ ปรํ อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ พระบรมโพธิสิตว์
เป็นพระยาวานรมีนามกรชื่อว่ามหากปิ ชาติหนึ่งเล่า พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้าง
ฉัททันต์ พระเทวทัตนั้นเป็นพรานตามฆ่าเอางา อีกชาติหนึ่งเล่า พระเทวทัตเป็นมนุษย์ พระโพธิ-

สัตว์เจ้าเป็นนกกระทา พระเทวทัตก็ฆ่าเสีย ปุน จ ปรํ อีกชาติหนึ่งเล่า พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็น
ขันติวาทีดาบส พระเทวทัตเป็นพระเจ้ากาสีราชนคร นามกรชื่อว่ากลาพุราช พิฆาตฆ่าพระ
โพธิสัตว์เจ้าเสีย อีกชาติหนึ่งเล่า พระเทวทัตเป็นชีเปลือยชื่อโกรัมภิระ1 พระบรมโพธิสัตว์เจ้า
้เป็นจันทรากนาคราช2 อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นชฏิลดาบส พระโพธิสัตว์เจ้าเป็นมหาสุกรชื่อ
ตัจฉกะ ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่ากบิลพารหมณ์ พระเทวทัตเป็นพระยาชื่อว่า
อุปริปรราช ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ชื่อสาม พระบรมโพธิสัตว์เป็นพระยาเนื้อขื่อรุรุ ชาติ
หนึ่ง พระโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้าง พระเทวทัตเป็นพรานชื่อว่าสุสามะตามไปเลื่อยงาถึง 7 ครั้ง
ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นกษัตริย์ มีนามชื่อว่าสิงคลราช พระบรมโพธิสัตว์เป็นพระวิธุรบัณฑิต
ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นช้าง ฆ่าเสียซึ่งลูกนกไส้ พระโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้าง ชาติหนึ่ง พระ
เทวทัตเป็นยักษ์ชื่อว่าอธรรม พระบรมโพธิสัตว์เป็นยักษ์ชื่อว่าสุธรรม ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็น
นายสำเภา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าก็เป็นนายสำเภามีบริวารคนละ 500 ชาติหนึ่ง พระเทวทัต
เป็นพระยาเนื้อ ชาติว่าสาขมิคราช พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาเนื้อชื่อว่านิโครธมิราช ชาติ
หนึ่งเล่า พระเทวทัตเป็นกัณฑหาลพราหมณ์ปุโรหิต พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระจันทกุมาร
ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพ่อค้าเกวียน พระโพธิสัตว์เจ้าเป็นพ่อค้าเกวียนมีบริวารคนละ 500
ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นอลาตเสนาบดี พระบรมโพธิสัตว์เป็นพรหมชื่อนารท ชาติหนึ่ง พระ
เทวทัตเป็นพระยาพรหมทัต พระบรมโพธิสัตว์เป็นบุตรแห่งพระยาพรหมทัตพระนามปทุมราช
กุมาร พระเจ้าพรหมทัตทิ้งพระบรมโพธิสัตว์เสียในเหว ชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพระนามหา
ปตาปราช พระบรมโพธิสัตว์เป็นพระราชกุมารชื่อธรรมปาลกุมาร เป็นพระบรมโอรสาธิราช
แห่งพระยาพรมทัต พระยามหาปตาปราชก็ฆ่าเสีย ครั้นมาเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระ
เวสสันดร พระเทวทัตเป็นชูชก ตราบเท่าจนปัจฉิมชาตินี้ได้เกิดในศากยตระกูลด้วยกันทั้งสอง
พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้สำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ พระเทวทัตศากยราชก็ออกบวช
ได้ฌานโลกีย์ เพียรที่จะฆ่าเสียซึ่งพระมหากรุณาด้วยจิตปรารถนาจะเป็นพระสัพพัญญู นี่แหละ
พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งโยมว่ามานี้ ผิดที่ไหนหรือประการใด
พระนาคเสนเถรเจ้ามีเถรวาจารับว่า มหาราช ขอถวายพระพร ประวัติชาติที่มหา
บพิตรตรัสมานี้ถูกต้องอยู่สิ้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า
พระเทวทัตกับสมเด็จพระสัพพัญญูนี้จะเกิดชาติใด ตามทำร้ายชาตินั้น ที่ว่าไม่ทำร้ายนั้นน้อย

1ในฎีกามิลินทปัญหาว่า การรัมภิยะ
2ในฎีกามิลินทปัญหาว่า ปัณฑรกนาคราช

นักบางทีมีศักดิ์มีชาติสูงกว่ากัน บางทีต่ำกว่ากัน ที่เสมอกันก็มี โยมเห็นฉะนี้ก็เข้าใจกุศล
กับอกุศลมีผลเสมอกัน
พระนาคเสนเถระ จึงถวายพระพรว่า ใช่กระนั้น ผลแห่งกุศลและอกุศลจะได้เสมอกัน
หามิได้ พระเทวทัตถึงจะมียศศักดิ์สักเพียงไร ก็ไม่เป็นที่รักแก่เทพามนุษย์ทั้งหลาย ส่วนพระ
โพธิสัตว์เจ้า หามีผู่ใดเกลียดชังพระองค์ไม่ พระเทวทัตประทุษร้ายต่อพระองค์ ก็ต้องไปทน
ทุกขเวทนาอยู่ในนรก มหาราช ดูรานะพบิตรผู้ประเสริฐ ซึ่งว่าพระเทวทัตได้เจริญด้วยยศ
ศักดิ์สมบัติบริวารในบางชาติบางภพนั้น เป็นด้วยเธอได้กระทำกุศลไว้ คือบางชาติได้เป็นเจ้าบ้าน
ปกครองรักษามนุษย์นิกรทั้งหลายให้เป็นสุข บางชาติได้กระทำสะพานสร้างศาลาและสระน้ำ
บางชาติได้บริจาคทานแก่สมณพราหมณาจารย์ ยาจกวรรณิพกทั้งหลาย จึงได้สมบัติ ที่จะไม่
ได้บริจาคทานและฝึกหัดดัดสันดานปราบปรามตน หรือไม่ได้กระทำอุโบสถกรรมเลยแล้วได้
สมบัตินั้น เป็นอันไม่มีเลย
มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง การที่พระบรมโพธิสัตว์กับพระเทวทัตได้เกิด
พบกันถึงจะนับด้วย 100 ชาติ 1,000 ชาติ 10,000 ชาตินั้นก็ดี จะได้ชื่อว่าพบกันติดต่อไป
โดยมากนั้นหามิได้ นาน ๆ จึงจะได้พบกันทีหนึ่ง แต่เพราะเหตุที่สงสานกำหนดเบื้องต้นหรือที่
สุดไม่ได้ เป็นการนานนักหนา จึงมีมากชาติ สมเด็จพระมุนีนาถทรงอุปมาว่าเหมือนเต่าที่ผุดขึ้น
ในกลางมหาสมุทร ที่จะได้พบสวะหรือขอนไม้นั้นน้อยครั้ง ที่มิได้พบอะไรเลน โผล่เปล่าไปนั่น
แหละมากนักหนา เพราะฉะนั้น บพิตรจงเข้าพระทัยว่า พระบรมโพธิสัตว์กับพระเทวทัตจะได้
เกิดพบกันทุกชาตินั้นหามิได้
มหาราช ขอถวายพระพร พระสัพพัญญูกับพระสารีบุตรเถระยังผลัดเปลี่ยนกันเป็น
บิดาและบุตร เป็นพี่น้อง เป็นลุงอาน้าและหลาน กับทั้งเป็นมิตรสหายแห่งกันและกัน สิ้น
ชาติเป็นอันมาก จะนับด้วยร้อยด้วยพันนั้นก็คณนาไม่ได้ หมู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงบรรดาที่ท่อง
เที่ยวอยู่วัฏสงสาร ย่อมาจะได้ประสบสิ่งซึ่งไม่เป็นที่พึงในรักใคร่บ้าง สิ่งซึ่งอันน่าพึงใจรักใคร่บ้าง
เป็นดังท่อนไม้และสวะที่น้ำพัดพาให้ลอยไปตามกระแสน้ำ จะต้องได้กระทบกระทั่งสรรพวัตถุ
อันมีอยู่ในระหว่างทางเป็นลำดับไป สุดแต่ว่าจะไปประจวบกับสิ่งใดเข้า ย่อมจะได้ประสบทั้งสิ่ง
ที่สะอาดทั้งสิ่งที่ไม่สะอาดและสิ่งที่ดีและชั่วทุกประการ ฉะนั้น
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ครั้งหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นอธรรมยักษ์ เป็นผู้มิได้
ตั้งอยู่ในธรรม ประพฤติแต่กรรมอันเป็นทุจรติ แล้วชักนำผู้อื่นในประพฤติตาม ครั้นตายไปแล้ว
ตกนรกอยู่ห้าสิบเจ็ดโกฏิกับหกหมื่นปี ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสุธรรมยักษ์ สถิต
อยู่ในธรรมและชักนำผู้อื่นให้ประพฤติตาม ครั้นกระทำกาลกิริยาแล้ว ก็ขึ้นไปเสวยสมบัติทิพย์

ในสวรรค์ช้านานประมาณห้าสิบเจ็ดโกฏิหกหมื่นปี มาในภพนี้ พระเทวทัตกับพระบรมโพธิสัตว์
เจ้าได้เกิดปะกันอีก พระเทวทัตรุกรานรันทำประทุษร้ายพระสัพพัญญู ผู้เป็นบรมศาสดาแล้ว
กระทำสังฆเภทเป็นกรรมหนัก ต้องแผ่นดินสูบลงไปไหม้อยู่ในอวิจีมหานรกตราบเท่าที่ทุกวันนี้
ฝ่ายสมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมโพธิญาณสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว ก็เสด็จ
ล่วงลับเข้าสู่พระบวรมหานคเรศศิเวศร์นฤพาน เหตุฉะนั้นบพิตรพระราชสมภาร อาตมาจึง
ถวายพระพรว่า กุศลกับอกุศลนี้มีผลไม่เสมอกัน อกุศลให้ผลไปทนทุกข์ในทุคติ ส่วนกุศลนี้ให้
ผลนำสัตว์ไปสู่สุคติภพทั้ง 3 พาข้ามถึงซึ่งฝั่งแห่งพระนิพพาน ขอบพิตรจงทรงทราบพระ
ปัญญาญาณด้วยประการดังนี้
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิราช ได้สดับก็ทรงประสาทโสมนัสตรัสซ้องสาธุการ
กุสลากุสลการิสส สมาสมปัญหา คำรบ 5 จบเพียงนี้

อมราเทวีปัญหา ที่ 6


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นทวีปบวรขัตติยสุขุมาลมีพระราชโองการประภาษ ตรัสถาม
พระนาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้เป็นปฏิสัมภิทา สมเด็จ
พระสุคตินทราธิบดินทร์มุนินทร์ผู้ประเสริฐ มีพระพุทธฎีกาตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า สพฺพา
อิตฺถิโย
สตรีภาพทั้งหลายในมนุษย์โลกนี้ แม้นได้ขณะก็ดี ได้กำบังก็ดี ได้ฟังลมปากก็ดี ชายใด
เชื้อเชิญเกี้ยวก็ดี สตรีทั้งหลายคงกระทำซึ่งการลามกเมถุนจนได้ ในที่ลับนั้นถึงจะไม่มีชายรูป
งาม มีแต่ชายทรามรูปไม่งาม ต่ำลงมาที่สุดคนง่อยเปลี้ยก็ดี ถ้าที่ลับแล้ว สตรีนั้นก็ย่อมหลง
ในลามกหมดทุกคน สมเด็จพระทศพลเจ้าตรัสฉะนี้แล้ว กลับมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางอมราเทวีเป็นภรรยาของพระมโหสถบัณฑิตนั้น ปวุฏฺฐปติกา อยู่ปราศ-
จากผัว รโห นิสินฺนา เข้าไปนั่งอยู่ในห้องที่ลับแห่งนายประตู มีชายไปพูดด้วยสองต่อสองใน
ห้องรโหฐาน นางจะได้ประพฤติมิจฉาจารการลามกหามิได้ จึงวิสัชนาแก้ไขในกระแสพระพุทธ-
ฎีกาให้วิตถารว่า เมื่อพระบรมโพธิสัตว์พานางอมราเทวีไป จะลองใจนาง ว่าดีหรือว่าลามกอยู่
ในห้องกำบังนั้น ให้เกี้ยวพาพูดวาจา นาอมราเทวีนั้นก็มิได้ปลงใจด้วยบุรุษทั้งหลายที่ใช่ให้ไปลอง
เรื่องราวนี้วิตถารอยู่ในมโหสถชาดกแล้ว นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าโยมพิเคราะห์ดูกระแสพระพุทธฎีกา
นี้ เป็นสองไม่ต้องกัน ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ จงโปรดวิสัชนาให้แจ้งก่อน